จูเลีย มอร์ลีย์ กับมรดกลิขสิทธิ์ “มิสเวิลด์” เวทีนางงามที่ไม่ได้มีแค่ชุดบิกินี่

Date:  15/03/2016   |   View:  3,289

 

 

หากจะเอ่ยถึงผู้ที่มีอิทธิพลต่อวงการนางงามระดับโลก “จูเลีย มอร์ลีย์ (Julia Morley)” ชื่อนี้ต้องอยู่ในลำดับต้นๆ อย่างแน่นอน

 

“จูเลีย มอร์ลีย์” ผู้ได้รับมรดกสิขสิทธิ์การประกวดนางงามระดับโลก ประธานและเจ้าของ มิสเวิลด์ ออร์กาไนเซชั่น (Miss World Organisation)ให้สัมภาษณ์กับ Telegraph สื่อยักษ์ใหญ่ของอังกฤษตอนนึงว่า ทำไมการประกวดนางงามที่จัดมายาวนานถึง 60 ปีเวทีนี้จึงมีมากกว่าแค่สาวกล้ามท้องสวยในชุดบิกินี่

มิสเวิลด์เติบโตขึ้นอย่างมากนับตั้งแต่จูเลียเขามาดูแลธุรกิจในปี 2543 หลังจากที่สามีของเธอเสียชีวิต งานการกุศลถือเป็นหัวใจของมิสเวิลด์ ออร์กาไนเซชั่น ภายใต้การนำของเธอเสมอมา

 

ในปี 2494 การประกวดมิสเวิลด์ครั้งแรกถูกจัดขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของงานเฟสติวัล ออฟ บริเทน (Festival of Britain) งานที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมความภูมิใจในชาติและเรียกความสนใจจากนานาชาติ หลังจากผ่านสงครามที่ยาวนานถึงหนึ่งทศวรรษ เอริค มอร์ลีย์ สามีของจูเลีย ก็เข้ามาดูแลเรื่องการประชาสัมพันธ์ให้กับเมคก้า (Mecca) บริษัทที่เป็นเจ้าของธุรกิจมากมายตั้งแต่โรงภาพยนตร์ไปจนถึงลานไอซ์สเก็ต สาวงามที่สุดในโลก 26 คน มาร่วมตัวกันอยู่ในทีเดียวกัน จูเลียบอกว่านั่นคือจุดกำเนิดของมิสเวิลด์ ในช่วงที่การประกวดได้รับความนิยมสูงสุด มีผู้ชมมากถึง 27.5 ล้านคน เฉพาะในสหราชอาณาจักร ซึ่งมีจำนวนผู้ชมเท่ากับการถ่ายทอดพิธีอภิเษกสมรสของพระบรมวงศานุวงค์

 

จูเลียกล่าวว่า มิสเวิลด์ ออร์กาไนเซชั่นส่งผลดีต่อธุรกิจในท้องถิ่น ซึ่งเป็นเรื่องไม่น่าแปลกใจ เพราะมีประชากรโลก 14% ที่ชมการถ่ายทอดการประกวดเวทีนี้ในแต่ละปี ตัวเลขผู้ชมก็เป็นเครื่องพิสูจน์ได้ อาทิ เมืองซันซิตี้ ในแอฟริกาใต้ มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าในช่วง 4 ปีที่มีการจัดมิสเวิลด์ที่นั่น คือตั้งแต่ปี 2535 – 2538 และในปี 2543 ที่มิสเวิล์ดไปจัดการประกวดที่มัลดีฟส์ ยอดการจองห้องพักในช่วงโลว์ซีซั่นเพิ่มขึ้นถึง 60% หรือเพิ่มเป็น 90% ของจำนวนที่พักที่มี นี่ถือเป็นผลโดยตรงจากการประกวดจากรายงานของกระทรวงการวางแผนและพัฒนาแห่งชาติ

 

 

ในปี 2543 จูเลียได้เปลี่ยนแปลงวิธีตัดสินการประกวดเพื่อยืนยันว่ามิสเวิล์ดไม่ใช่เวทีประกวดสาวในชุดบิกินี่ นี่เป็นครั้งแรกที่มีการนำบุคลิกภาพและไหวพริบปฎิภาณมาเป็นเกณฑ์ในการตัดสินที่มีความสำคัญเท่ากันกับคะแนนความงาม ดังนั้ นอะไรก็เกิดขึ้นได้บนเวทีนี้

 

“แน่นอนว่าต้องเป็นความงามอย่างมีคุณค่า” จูเลียกล่าว

 

“ฉันเป็นเพียงแม่และแม่บ้านในโลกธุรกิจที่ไม่คุ้นเคย” ตอนที่เอริคสามีบอกให้เธอเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลธุรกิจให้มากขึ้น เธอไม่คิดว่าการประกวดควรจะจัดขึ้นเพื่อให้ผู้หญิงใส่ชุดว่ายน้ำขึ้นเวทีเพื่อเดินและหมุนตัวโชว์เท่านั้น เธอพูดคุยกับประเทศที่มีส่วนในการจัดการประกวดเพื่อทำงานร่วมกันและทำให้การประกวดส่งผลดีกับการกุศลในท้องถิ่นหลังจากการประกวดจบลง หลังจากนั้นไอเดียที่เธอวางไว้ก็เป็นผล มันสามารถเรี่ยไรเงินเพื่อการกุศลได้มาก ด้วยการสนับสนุนขององค์กร

ผู้เข้าประกวดและผู้ชนะมิสเวิลด์ได้ริเริ่มมีส่วนในการทำโครงการการกุศลที่ดีเอาไว้ มิสเวิลด์ไม่ใช่เพียงเวทีประชาสัมพันธ์อีกต่อไป มันกลายเป็นเวที “ที่มากกว่าแค่การประกวดความงาม” นอกจากนี้เธอยังบอกอีกว่ามุมมองนี้ได้เปลี่ยนการประกวดให้กลายเป็นธุรกิจที่เอื้อเฟื้อต่อสังคม มีความตั้งใจดี และเป็นแหล่งเรียนรู้ของโลก

 

มิสเวิลด์ถือเป็นเครือข่ายระดับนานาชาติที่ใหญ่ที่สุดในโลกเครือข่ายหนึ่ง จูเลียกล่าวว่าฉันมั่นใจว่าฉันมีเพื่อนอยู่ในทุกประเทศในทั้ง 4 ทวีปทั่วโลก

 

จนกว่าวันที่ฉันตาย ฉันจะทำงานอย่างไม่เหน็ดเหนื่อยเพื่อสานต่องานที่น่าทึ่งชิ้นนี้ ความงามทั้งภายนอกและภายในมีเวทีที่จะแสดงออกและมีจุดมุ่งหมายเพื่อการทำดี”

 

ขอบคุณข้อมูลจาก Telegraph